วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หมูประหลาด





"ตื่นลูกหมูประหลาด 2 หัว"เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 พ.ค. ที่สำนักงานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร จ.ตราด เลขที่ 50 หมู่ 3 ต.เนินทราย อ.เมือง จ.ตราด น.ส.นงเยาว์ ยุเจริญ ผู้จัดการสหกรณ์ดังกล่าว เปิดเผยว่ามีแม่หมูที่เลี้ยงอยู่ในสหกรณ์ออกลูกมาจำนวน 9 ตัว และมีอยู่ 1 ตัว มีลักษณะแปลกประหลาดมี 2 หัว 4 หู มีขา 4 ขา ลูกกระเดือก 2 ลูก น้ำหนักตัว 1.8 กิโลกรัม








เกิดจากแม่พันธุ์หมูในฟาร์มหมายเลข 281 น้ำหนักตัว 100-150 ก.ก.เมื่อวันที่ 27 พ.ค. เวลา 14.00-15.00 น. ขณะแม่หมูออกลูกส่งเสียงดังมาก จึงพากันมาดูที่คอกก็ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่ามีลูกหมูตัวหนึ่งออกลูกมีลักษณะประหลาดมี 2 หัว จึงได้แยกลูกหมูมาเลี้ยงเองเพราะกลัวว่าจะถูกเหยียบเสียชีวิต ก่อนแจ้งให้ปศุสัตว์จังหวัดทราบ โดยนายอวยชัย ผาตินาวิน ผู้ช่วยปศุสัตว์ จ.ตราด แนะนำว่าหากลูกหมูเสียชีวิตขอนำไปสตัฟฟ์ไว้เพื่อใช้ในการศึกษาข้อมูลต่อไป
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด












หมูมีนิ้ว - ลูกหมูเพศเมียพลัดตกลงมาจากน้ำตกนางรอง จ.นครนายก เป็นหมูที่มีนิ้วและเล็บคล้ายหมี เจ้าหน้าที่ระบุเป็น "หมูหริ่ง" สัตว์ป่าคุ้มครอง จึงส่งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ดูแลต่อไป
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากนายเอนก ดาอาษา อายุ 48 ปี ผู้จัดการอุทยานน้ำตกนางรอง ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก ว่าเมื่อช่วงตอนสายของวันนี้ตนและเจ้าหน้าที่ของอุทยานนางรองช่วยกันจับลูกหมูประหลาด 1 ตัว ซึ่งลูกหมูดังกล่าวพลัดตกลงมาจากที่สูงภายในอุทยานน้ำตกนางรอง โดยลูกหมูตัวนี้มีลักษณะแปลกกว่าลูกหมูตัวอื่นๆ ที่เคยเห็นมาคือหน้าตาจะคล้ายกับหมู แต่นิ้วเท้าทั้ง 4 ขาจะมีลักษณะคล้ายกับหมี เมื่อเดินทางไปตรวจสอบดู พบว่าเป็นลูกหมูเพศเมีย สีขาวเผือกปนเทา ความยาวของลำตัวประมาณ 50 ซ.ม. น้ำหนักตัวประมาณ 10 ก.ก. ส่วนที่บริเวณใบหน้านั้นทั้งจมูกกับปากที่ยื่นยาวออกมามีลักษณะคล้ายกับหมูมาก แต่เมื่อไปดูที่นิ้วเท้าพบว่ามีกรงเล็บงอกยาวออกมามากเหมือนหมีทุกอย่าง รวมทั้งมีหางยาวเหมือนหางหมูและมีลักษณะท่าทางค่อนข้างจะดุร้าย แต่บาดเจ็บที่บริเวณขาด้านซ้าย ทางเจ้าหน้าที่ อบจ.นครนายก ผู้ดูแลอุทยานน้ำตกนางรองเตรียมนำตัวไปให้สัตวแพทย์ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บให้ในเบื้องต้น
นายเอนกกล่าวว่า ช่วงตอนสายเวลาประมาณ 08.00 น. ตนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลภายในอุทยานน้ำตกนางรองก็ออกตรวจตราดูแลความเรียบร้อยตามปกติ จนกระทั่งเดินลาดตระเวนไปถึงชั้นบนสุดของอุทยานน้ำตกนางรองซึ่งจะมีที่พักอยู่ด้านบน ก็พบว่ามีหมูประหลาดตัวนี้พลัดตกลงมาจากที่ลาดชันของเชิงเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นอนดิ้นอยู่ จากนั้นจึงช่วยกันจับและเอาเชือกมัดขาเอาไว้เพราะว่ามันได้รับบาดเจ็บที่ขาข้างซ้าย และเมื่อมองดูแล้วก็ยังไม่เคยพบสัตว์ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาดแบบนี้มาก่อน จากการสอบถามชาวบ้านหลายคนบอกว่าน่าจะเป็นหมูหริ่ง แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะว่ารูปร่างหน้าตาและเท้าเหมือนกับหมีมาก ทั้งนี้ คาดว่าเจ้าลูกหมูตัวนี้คงจะเดินพลัดหลงทางมาและไม่ใช่มีตัวเดียวอย่างแน่นอน

ด้านนายกมล พึ่งสกุล หน.กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.นครนายก เปิดเผยว่า ให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบดูสัตว์ดังกล่าวแล้ว พบว่าเป็นสัตว์ที่มีชื่อเรียกว่า "หมูหริ่ง" ดูจากขนาดแล้วน่าจะอยู่ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ทั้งนี้ "หมูหริ่ง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับชะมด เป็นสัตว์ประเภทกินเนื้อ ปกติจะหากินบนต้นไม้สูง อาหารได้แก่จำพวกแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก

สำหรับ "หมูหริ่ง" ตัวที่พบนี้จะประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายกเพื่อขอรับมาดูแล เนื่องจากทราบว่าได้รับบาดเจ็บ โดยเมื่อได้มาแล้วจะส่งให้กับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา รับไปรักษาอาการบาดเจ็บก่อนจะปล่อยกลับคืนสู่ป่าต่อไป
ข้อมูลจาก ข่าวสด..



เพิ่มเติม...



หมูหริ่ง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Hog Badger
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arctonyx collaris
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นสาบฉุนมาก ความยาวลำตัวประมาณ 65 - 104 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 12 - 14 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายหมู ขนตามตัวสีเหลืองเทาหรือดำ ขนบริเวณหน้าสีขาว เป็นแถบที่แก้มและหน้าผาก จมูกยื่นยาวคล้ายจมูกหมู หูมีขนาดเล็ก ขนยาว และหางค่อนข้างสั้น เท้าไม่เป็นกีบ แต่เป็นเล็บยาวโค้งแหลมแข็งแรงสีขาวเหมือนเล็บหมี และมีอุ้งเท้าใหญ่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเนปาล ภูฐาน อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาะสุมาตรา สำหรับประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค อาหารของหมูหริ่งได้แก่ ผลไม้ หน่อไม้ หัวพืชต่าง ๆ หนู กิ้งก่า กิ้งกือ แมลง ไส้เดือน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ จมูกไว ค่อนข้างปราดเปรียว ปกติออกหากินเวลากลางคืน กลางวันนอนหลบซ่อนตัวตามโพรงดินซึ่งขุดขึ้นเองและมีทางเข้าออกได้หลายทาง บางทีหมูหริ่งอาจนอนตามซอกหิน เป็นสัตว์ชอบออกหากินและอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ และบางครั้งอาจออกหากินเวลากลางวัน ชอบขุดคุ้ยดินหาอาหารกินโดยใช้จมูกและเล็บเท้าที่แข็งแรง หมูหริ่งเป็นสัตว์ค่อนข้างดุร้าย แม้ศัตรูที่มีขนาดใหญ่กว่ามันก็ไม่กลัว หมูหริ่งผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน ตั้งท้องนานราว 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 2 - 4 ตัว และมีอายุยืนประมาณ 6-7 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

about me

รู้จักกันก่อน

ชื่อ เด็กหญิงกิตติกานต์ มาลัย ชื่อเล่น อิ๋ง

ม.1/1 เลขที่ 17

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
สีที่ชอบ สีฟ้า
อยู่ต.โคกโคเฒ่า อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

กิจกรรมที่ชอบทำ อ่านหนังสือ เล่น hi5 เล่นmsn

อาหารที่ชอบ ข้าวผัดทะเล

About Me

My name is Kittikarn Malai My nickname is Ing

M.1/1 Number 17

Kanchanapisekwittayalai Suphanburi

Colourfavorite : Blue

Activity : Read Related word , Play Hi5 , Play msn

Foodfavorite : Sea Fride rice

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



Doraemon : โดเรม่อน โดเรม่อน หรือโดราเอม่อน เป็นแมวหุ่นยนต์ในโลกอนาคต ยุคศตวรรษที่ 22 เกิดวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2655 มีน้ำหนัก 129.5 กก. ความสูง 129.3 ซม. กระโดดได้สูง 129.3 ซม. และยังวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กม. / ชม. ลักษณะตัวอ้วนกลมสีน้ำเงิน ไม่มีใบหู เนื่องจากถูกหนูกิน ไม่มีนิ้วมือ มีกระดิ่งห้อยคอสีเหลือง มีหนวดหกเส้น มีกระเป๋าหน้าสำหรับเก็บของวิเศษ สารพัดอย่างที่สุดยอด อาหารที่ชอบที่สุดคือ แป้งทอด (โดรายากิ) สิ่งที่กลัวที่สุดคือ หนู



สัดส่วนโดเรม่อน:

ดอกไม้แปลกๆ

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Hamster

มหาสถูปบุโรพุทโธ






มหาสถูปบุโรพุทโธ







มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในปีพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก









ประวัติของบุโรพุทโธ
บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้งด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป
แผนผังของบรมพุทโธ
เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ “อรุปธาตุ” ชั้นรองลงมาคือ “รูปธาตุ” และชั้นต่ำสุดคือ “กามธาตุ” พระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย) เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้ “ธรรมกาย” ตรงกับ “อรูปธาตุ” ส่วน “สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ “รูปธาตุ” และ “นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ “กามธาตุธรรมกาย” ที่ตรงกับ “อรูปธาตุ” นั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี “เจดีย์ทึบ” ล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี “พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนา” อยู่ภายใน (ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” แต่บางท่านก็ว่าเป็น “พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์” ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า) ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ “รูปธาตุ” ที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, พระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้, พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตก” และ “พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือ” ส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง “ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” องค์สูงสุดคือ “พระไวโรจนะ” แต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง “ประทานปฐมเทศนา” ก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง “ปางวิตรรกะ” บนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง “พระสมันตภัทรโพธิสัตว์” เพราะ “พระพุทธศาสนา” ลัทธิมหายานนิกาย “โยคาจารย์” ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ “คัณฑพยุหะ” และ “ภัทรจารี” ที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” ส่วน “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนาในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกสี่พระองค์คือ “พระอักโษภยะ, รัตนสัมภวะ, อมิตาภะ, อโมฆสิทธะ” จึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ แต่ละทิศตามลำดับ แต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐานชั้นที่ ๑ หมายถึง “พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์” เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่ “พระโกนาคมทางทิศตะวันออก, พระกัสสปะทางทิศใต้, พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ” ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดยเดินเวียนขวารอบ “บุโรพุทโธ” ขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย “พระพุทธรูป” ในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด “๔๓๒ องค์” ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก “๗๒ องค์” ก็มีจำนวนทั้งสิ้น “๕๐๔ องค์”
พระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ “บุโรพุทโธ” ก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “สูงสุด” ในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ส่วน “สถูปเจดีย์” ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ “อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าวอันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไปทั่ว “วสกลจักรวาล” ซึ่งก็คือพุทธานุภาพพุทธบารมีแห่งองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรง “นิรมานกาย” (แบ่งพระวรกาย) ออกได้เป็นสามรูปที่เรียกว่า “ตรีกาย” อันได้แก่ “ธรรมกาย” คือเป็นอรูปธาตุ “สัมโภคกาย” ก็คือ “การเนรมิตกาย” ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” และ “พระโพธิสัตว์” ผู้เป็นบริวารของพระองค์อันเป็นรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า “นิรมานกาย” ก็คือการเนรมิตกายของ พระธยานิพุทธเจ้าออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” อีกขั้นตอนหนึ่ง (เป็นกายขั้นที่สาม) อันเป็นกามธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า ส่วน “ธรรมกาย” หรือ “อรูปธาตุ” ของพระอาทิพุทธเจ้าได้ถูกกำหนดสัญลักษณ์ออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์ทรงโอ่งคว่ำทึบ” ขนาดใหญ่องค์เดียวที่ถือเป็น “ศูนย์กลางของบุโรพุทโธ” ประดิษฐานอยู่บนลานชั้นยอดอันเป็นชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ โดยไม่มีภาพสลักตกแต่งรายละเอียดใด ๆ และถัดออกมาเป็น “พระสถูปเจดีย์เจาะสลักเป็นรูโปร่งสามแถว” ที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางปฐมเทศนา (จีบนิ้วพระหัตถ์) โดยมีพระสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปประดิษฐานภายในทั้งหมด “๗๒ องค์” และแบ่งออกเป็นแถวชั้นใน ๑๖ องค์ แถวชั้นกลาง ๒๔ องค์ และแถวชั้นนอก ๓๒ องค์ ทางด้านฐานของพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นเป็นสัญลักษณ์ของ “รูปธาตุ” หรือ “สัมโภคกาย” ที่ “พระอาทิพุทธเจ้า” ทรงเนรมิตกายของพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าปางมารวิชัย” ประดิษฐานทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าปางประทานพร” ประดิษฐานทางทิศใต้ “พระอมิตาภะธยานิพุทธเจ้าปางสมาธิ” ประดิษฐานทางทิศตะวันตก “พระอโมฆสิทธิธยานิพุทธเจ้าปางประทานอภัย” ประดิษฐานทางทิศเหนือและ “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าปางแสดงธรรม” ประดิษฐานอยู่เหนือผนังชั้นยอดบนสุด

และในชั้นที่ ๑ มี “พระพุทธรูป” ประดิษฐานในซุ้มบนยอดฐานเป็นพระพุทธรูปของ “พระมานุษิพุทธเจ้า” ซึ่งอยู่ในระดับ “กามธาตุ” หรือระดับของ “โลกมนุษย์” ที่ “พระอาทิพระพุทธเจ้า” คือพระพุทธเจ้าที่สูงสุดในคติของ “พระพุทธศาสนานิกายมหายาน” ได้นิรมานกายคือการ “แบ่งภาค” ของพระองค์ออกมาเป็นพระอาทิพระพุทธเจ้าโดยใน “ภัทรกัปป์” นี้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์” ด้วยกันคือ ๑. “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธและพระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้านี้ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ที่ทรงพระนามว่า “พระกกุสันโธพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๑” ในภัทรกัปป์ ๒. “พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศใต้ของบุโรพุทโธที่ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระโกนาดมน์พุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่ ๒” ในภัทรกัปป์ ๓. “พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศเหนือของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานิษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระกัสสปะพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน “พุทธันดรที่๓” ในภัทรกัปป์ ๔. “พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระศากยมุนี” ซึ่งเป็น “พุทธันดรที่ ๔” หรือพระพุทธเจ้า “องค์ปัจจุบัน” ของภัทรกัปป์ ๕. “พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้า” ประดิษฐานอยู่ตรงกลางเหนือผนังชั้นบนยอดสุดของชั้นที่ ๕ ของบุโรพุทโธ (เปรียบได้กับการเป็นภาคกลางหรือทิศภาคกลาง) ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น “พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “องค์สุดท้าย” เป็น “พุทธันดรที่ ๕” ในภัทรกัปป์และเป็น “พระอนาคตพุทธเจ้า” ที่ยังไม่มาตรัสรู้เพราะศาสนาของ “พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (พุทธันดรที่ ๔) ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเอง
ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นฐานชั้นที่ ๑ ของ “บุโร พุทโธ” จะมีภาพสลักทั้งหมด “๑๖๐ ภาพ” โดยทุกภาพจะเป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของ “บาป บุญ คุณ โทษ” นั่นเองแต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกลานประทักษิณขนาดใหญ่ (ลานที่เดินเวียนขวาตามพุทธสถาน) ทับถมไว้กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ นักโบราณคดีชาว “ฮอลันดา” ได้ค้นพบภาพเหล่านี้โดยทำการรื้อลานประทักษิณออกและทำการถ่ายภาพ “ภาพสลัก” ทั้งหมดแล้วนำมาประกอบไว้ดังเดิมที่ปัจจุบันมีการเปิดแสดง ให้เห็นภาพสลักประมาณ ๒-๓ ภาพ ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะภาพสลักทั้ง ๑๖๐ ภาพนี้ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็น “วิถีชีวิตของชาวชวา” ใน “พุทธศตวรรษที่ ๑๔” ได้เป็นอย่างดีและผนังด้านในของของระเบียงชั้นที่๑มีความสูง ๓.๖๖ เมตร ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักแนวละ “๑๒๐ ภาพ” และระหว่างภาพจะมีลายก้านขดคั่นส่วนภาพแนวบนแสดงเรื่องราวของ “พระพุทธประวัติ” ฝ่ายมหายานตาม “คัมภีร์ลลิตวิสูตร” หรือ “คัมภีร์ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายาน” นับตั้งแต่การ “เสด็จประสูติ, บำเพ็ญบารมี” ไปจนถึงการแสดง “ปฐมเทศนาธัมม จักกัปปวัตนสูตร” ส่วนภาพด้านล่างสลักภาพอธิบายเรื่องราวของ “ชาดก” และ “นิยายอวตาน”
ทางด้านผนังด้านนอกของระเบียงชั้นที่ ๑ นั้น เมื่อแก้ไขให้สูงขึ้นหลังจากที่มีการสร้างลานทักษิณรอบนอกแล้ว ผนังด้านในก็ยังมีการแกะสลักเป็น “ภาพชาดก” อีกโดยมีแนวบนทั้งหมด “๓๗๒ ภาพ” ซึ่งเป็นการแสดงที่นำเค้าโครงเรื่องที่มาจาก “ชาตกมาลา” (ชาดกมาลา) บทนิพนธ์ของท่าน “อารยศูร” และภาพในแนวล่างเล่าเรื่อง “ชาดก” และ “อวตาน” อีกเช่นกันนอกจากนั้นบนยอดฐานแต่ละชั้นจะมีการก่อสลักหินเป็นซุ้มประดิษฐาน “พระพุทธรูป” อยู่ภายในโดยในซุ้มชั้นที่ ๑ สำหรับประดิษฐาน “พระมานุษิพุทธเจ้า” และซุ้มชั้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะสลักลวดลายและประ ดับเพชรพลอยบนยอด โดยซุ้มที่อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของ “พระธยานิพุทธเจ้า” โดยใช้รูปสถูปเจดีย์จำลองเป็นสัญลักษณ์แทนและอยู่สูงขึ้นไป
และในระเบียงชั้นที่ ๒ ด้านในของผนังชั้นนอกอาจจะมีการสลักเรื่อง “ชาดก” ต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จส่วนผนังชั้นในสลักภาพสลักจำนวน “๑๒๘ ภาพ” และเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์คัณฑพยุหะ” ซึ่งเป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว “พระสุธนกับนางมโนราห์” ตอนที่ “พระสุธน” ไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” ก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา “พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” อีกครั้งและ “ระเบียงชั้นที่ ๓” ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติ “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ถึงในอนาคตหลังจากที่ “พุทธันดร ที่ ๔” (พุทธันดรในปัจจุบัน) สิ้นสุดลง “พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ก็จะเสด็จมาตรัสรู้เป็น “พระพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า “พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งก็คือ “พระอนาคตพุทธเจ้า” นั่นเอง โดยรอบ ๆ ของ “บุโรพุทโธ” ตามฐานระเบียงชั้นต่าง ๆ มีการสลักภาพรวมแล้วได้ประมาณ “๑,๓๐๐ภาพ” มีความยาวต่อกันเกือบ “๔ กิโลเมตร”
ทางทิศตะวันออก เป็นประตูทางขึ้นหลักที่สำคัญของบุโรพุทโธที่ปรากฏ “สิงห์ทวารบาล” สลักด้วยศิลาตั้งอยู่ภายนอกทางขึ้นทั้งสองข้าง ส่วนประตูทางขึ้นของแต่ละทิศที่สามารถเดินผ่านตรงไปยังลานชั้นบนได้ประกอบด้วย “ลายหน้าบาล” และ “ภมร” ในแต่ละชั้นจะมีท่อระบายน้ำโดยชั้นล่างจะสลักหินเป็น “รูปกุมาร” มีคนแคระแบกรับไว้และชั้นบนสลักเป็น “รูปหน้ากาล” โดยลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ “ศิลปะชวา” ที่มีความหมายว่า “กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาท” จึงจัดเป็น “พุทธปรัชญามหายาน” ได้เป็นอย่างดี